กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
แต่อย่าได้กังวลไป…
เพราะเต้านมจะมีขนาดใหญ่หรือเล็กขึ้นกับปริมาณเนื้อเยื่อไขมันข้างเคียง ไม่ได้มีผลต่อการสร้างน้ำนมจากต่อมน้ำนมแต่อย่างใด
สิ่งที่มีผลต่อปริมาณน้ำนม คือ “โปรแลคติน” ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญที่กระตุ้นให้เซลล์ผลิตน้ำนมออกมา
ฮอร์โมนโปรแลคตินจะเพิ่มสูงขึ้นหลังจากที่คุณแม่ให้ลูกดูดนม และจะลดลงอย่างรวดเร็วหลังให้นมเสร็จ
ดังนั้น คุณแม่ที่ให้ลูกดูดนมบ่อยๆ จึงเป็นการกระตุ้นการหลั่งโปรแลคติน เพื่อให้เกิดการสร้างและคงอยู่ของน้ำนมแม่ นั่นเอง